Homeschool คืออะไร?
Table of contents
ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งครอบครัว พ่อแม่หรือผู้ดูแล สามารถจัดการการศึกษาพื้นฐานให้แก่เด็กเอง โดยที่ไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ หรือเอกชน
ซึ่งในการเรียนแบบโฮมสคูลนั้น บ้านเปรียบเสมือนโรงเรียน โดยมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นครู ผู้ที่จะต้องเลือกรูปแบบการจัดการศึกษา และจัดทำแผนการศึกษาโดยอิงจากความสนใจของลูก ซึ่งก็คือนักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ นอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องประเมินและเก็บรวบรวมผลงานการเรียนรู้ของลูก เพื่อส่งให้กับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกด้วย
Homeschool ทำได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
ถึงแม้ว่าการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทย จะเริ่มต้นที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรืออายุประมาณ 7 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่อยากจะเริ่ม Home School ให้ลูก ๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลก็สามารถทำได้เช่นกัน และนอกจากนี้ยังสามารถทำโฮมสคูลได้จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เลยอีกด้วย
Homeschool ไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว!
เมื่อคนพูดถึงโฮมสคูล หรือ บ้านเรียน ก็มักจะเข้าใจว่าการศึกษาประเภทนี้จะมีได้ในรูปแบบเดียวคือ พ่อแม่สอนลูกเองที่บ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้วการโฮมสคูล นั้นสามารถทำได้ในหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่บริบทของแต่ละครอบครัว อาทิเช่น
- การจัดการศึกษาแบบครอบครัวเดี่ยว ซึ่งพ่อแม่จะเป็นผู้ประเมินผลการเรียนของลูก ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- การจัดการศึกษาแบบกลุ่ม ซึ่งจะเป็นการรวมกลุ่มของครอบครัวที่จัดการศึกษาแบบโฮมสคูล โดยจะมีการจัดการศึกษาแยกจากกันอย่างอิสระของแต่ละบ้าน และมีการนัดรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในบางโอกาส
- การจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์ คือการรวมตัวกันของครอบครัวโฮมสคูล จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนครอบครัวเดี่ยว หรือศูนย์การเรียนกลุ่มครอบครัว โดยที่มีคณะครอบครัวทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการดูแลบริหารจัดการ “ในรูปแบบไม่แสวงหาผลกำไร”
- การจัดการศึกษาโดยมีข้อตกลงร่วมกับทางโรงเรียน โดยที่การจัดหลักสูตรการสอน จะเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ในส่วนของการประเมินผลนั้น ผู้ปกครองจะร่วมประเมินกับทางโรงเรียน ทางโรงเรียนจะมีการออกใบรับรอง สนับสนุนสื่อการเรียน การใช้สถานที่ในการทำกิจกรรม หรือให้เด็กโฮมสคูลเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนในโรงเรียนในบางกิจกรรม เช่น ทัศนศึกษา เป็นต้น
- การเรียนออนไลน์ โดยใช้หลักสูตรโฮมสคูลของต่างประเทศ
Subscribe to my newsletter
Read articles from AJ directly inside your inbox. Subscribe to the newsletter, and don't miss out.
Written by